เราสามารถสร้างสิ่งมีชีวิตจากสิ่งไม่มีชีวิตได้หรือไม่
หากเราลองสังเกตุไปรอบๆตัว เราจะเห็นสิ่งมีชีวิต สิ่งของต่างๆ รวมไปถึงสิ่งไม่มีชีวิต ปะปนมากมายเต็มไปหมดบนโลกใบนี้ หลายๆสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นจนทำให้เราได้เห็นแบบจนถึงวันนี้ ล้วนมาจากการผลิต การกำเนิด และการผสมสานกันระหว่างพันธะเคมีมากมายทั้งโดยฝีมือมนุษย์และการสร้างสรรค์ของธรรมชาติตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หากเรามองย้อนกลับไปภายในอดีต ผ่านที่มาของสรรพสิ่งสิ่งต่างๆ เราจะเห็นว่ามันย่อมมีต้นกำเนิดมาจากที่ใดที่นึง แล้วคำถามที่จะตามมาหลังจากนี้คือ หากเราย้อนไปจนถึงวาระแรกที่โลกนี้ก่อกำเนิดขึ้น ในช่วงไร้สิ่งมีชีวิตใดๆ อะไรคือปัจจัยแรกเริ่มที่ทำให้สิ่งมีชีวิตถือกำเนิดขึ้นมาจากความไม่มีหรือความว่างปล่าวได้เรารู้ว่าอะตอมคือหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดในการศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของพันธะเคมีและธาตุต่างๆ ต้นไม้ มนุษย์ โต๊ะพลาสติก รวมไปถึงอากาศ ทั้งหมดล้วนต่างประกอบขึ้นมาจากอะตอม และอะตอมที่เป็นส่วนประกอบของสิ่งต่างๆเหล่านี้ก็เป็นชนิดเดียวกันกับอะตอมที่ประกอบร่างกายของเรา ดังนั้นเราจึงเห็นว่าในระดับอะตอม ตัวเรา และสิ่งรอบข้างแทบจะไม่มีความแตกต่างกันเลย หากเราอยากจะเข้าใจสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต อาจจะต้องเริ่มกันตั้งแต่หน่วยย่อยเหล่านี้
สมมติฐานเกี่ยวกับเรื่องของการกำเนิดสิ่งมีชีวิตจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต ได้ถูกตั้งขึ้นโดยนักปราชญ์หลายคน ได้แก่ ธาเลส, เซโนเฟน, อนาซากอรัส และอริสโตเติล ได้อธิบายออกมาเหมือนๆกัน คือ ชีวิตเกิดจากสารอนินทรีย์ จนในปี ค.ศ.1955 บลูม ให้สมมติฐานการกำเนิดชีวิตจากสิ่งไม่มีชีวิตไว้ว่า ชีวิตเมื่อครั้งแรกเริ่มนั้นอาจเกิดขึ้นเองได้ แต่ปรากฏการณ์นี้อาจะเกิดขึ้นเมื่อ 3 พันล้านปีมาแล้ว อันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมในขณะนั้นมีส่วนช่วยให้เกิดสิ่งมีชีวิตจากสิ่งที่ไม่มีชีวิตได้
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เริ่มมีการทดลองสมมติฐานนี้โดย ในปี ค.ศ. 1953 สแตนลีย์ มิลเลอร์ ได้ทำการทดลองเพื่อพิสูจน์แนวคิดของเอ ไอ โอพารินซึ่งมีข้อเสนอว่า "สิ่งมีชีวิตไม่สามารถเกิดได้ขึ้นเองในช่วงเวลาสั้นๆเพียงขั้นตอนเดียว แต่ต้องใช้เวลานานมากโดยกระบวนการวิวัฒนาการทางเคมีอย่างช้าๆ เป็นการสังเคราะห์สารอินทรีย์จากโมเลกุลง่ายๆ เป็นโมเลกุลที่ซับซ้อน"
โดยมิลเลอร์นำขวดแก้วสองใบ ใบหนึ่งใส่น้ำเล็กน้อยเปรียบเสมือนมหาสมุทรในยุคดึกดำบรรพ์ อีกใบผสมก๊าซมีเทน แอมโมเนีย ไฮโดรเจนซัลไฟด์ จำลองบรรยากาศโลกยุคดึกดำบรรพ์ นำสายยางเชื่อมต่อทั้งสองขวด แล้วใช้ไฟฟ้าเร่งปฏิกิริยา สิ่งที่ได้คือสารอินทรีย์
ต่อมาในปี ค.ศ. 1957 ซิดนีย์ ดับเบิลยู ฟอกซ์ ทำการทดลองโดยเอากรดอมิโน (สารอินทรีย์) มาทำปฏิกิริยาเคมีรวมกัน ปรากฏว่า ได้สารตัวใหม่มีสภาพคล้ายโปรตีนในสัตว์
และในปี ค.ศ. 1961 เมลวิน คาลวิน ทำการทดลองคล้ายการทดลองของสแตนลีย์ มิลเลอร์ แต่ใช้รังสีแกมมาผ่านเข้าไปแทนกระแสไฟฟ้า ผลที่ได้เกิดสารประกอบทางเคมีหลายชนิดที่พบในสิ่งมีชีวิตปัจจุบันนอกจากนั้นยังได้สารประกอบที่ทำหน้าที่สะสมพลังงานในสิ่งมีชีวิตอีกด้วย คาลวินจึงสรุปความเห็นว่า "สารอินทรีย์และสิ่งมีชีวิต อาจเกิดจากสารอนินทรีย์ได้ ถ้ามีพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น