วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คนไม่เคร่งศาสนา มีน้ำใจมากกว่า


นักวิจัยชี้ คนไม่เคร่งศาสนามีน้ำใจมากกว่าคนที่เคร่งศาสนา

ในอดีตถึงปัจจุบัน เรามักจะถูกสั่งสอนให้เชื่อในเรื่องของบาปและบุญเสมอๆ และหนทางที่ง่ายที่สุดที่จะทำให้เราได้บุญนั้น คือ การทำทาน(ทำบุญ) หรือ การให้ เราจะเห็นว่าวิธีนี้ เป็นหนทางง่ายที่สุดในการสร้างบุญในหลักคำสอนของศาสนาพุทธ เรามาดูกันว่า ในศาสนาอื่นๆนั้นรวมถึงพุทธด้วยในเขตประเทศต่างๆทั่วทุกมุมโลก ระหว่างคนที่นับถือหรือเคร่งศาสนา กับคนที่ไม่เคร่งศาสนานั้น ฝ่ายใดตระหนี่ถี่เหนียวกว่ากัน




ผลวิจัยพบ เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เคร่งศาสนา ทั่วโลก มีแนวโน้มมีพฤติกรรมเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่นน้อยกว่าเด็กที่เติบโตในครอบครัวที่ไม่เคร่งศาสนาหรือไม่มีศาสนา


The Negative Association between Religiousness and Children’s Altruism across the World













Jean Decety ศาสตราจารย์ของสาขาจิตวิทยาและจิตแพทย์เด็ก ของมหาวิทยาลัยชิคาโก ซึ่งผู้ทำวิจัยนี้ ได้ทำการทดลองกับเด็กอายุ 5-12 ปี จำนวน 1,170 คน จาก 6 ประเทศ ทั้งแคนาดา สหรัฐฯ จีน อินเดีย จอร์แดน ตุรกี เซาท์แอฟริกา โดยเด็กมาจากครอบครัวคริสต์และมุสลิม รวมถึงไม่มีศาสนาเป็นส่วนใหญ่ มีบางส่วนเป็นฮินดูและพุทธ

การทดลองทำโดยให้เด็กเล่น "เกมเผด็จการ" ที่จะให้ผู้เล่นเลือกสติกเกอร์ที่ตัวเองชอบ 10 ใบ แล้วแบ่งให้เด็กนักเรียนร่วมโรงเรียนที่พวกเขาไม่รู้จักมาก่อน และไม่มีโอกาสได้ร่วมเล่นเกมเพื่อครอบครองสติกเกอร์ ปรากฏว่าเด็กจากครอบครัวไม่มีศาสนา แบ่งสติกเกอร์ให้เด็กคนอื่นในปริมาณเฉลี่ยมากที่สุด 4.1 ใบ ขณะที่เด็กจากครอบครัวที่เคร่งศาสนา แบ่งสติกเกอร์ให้คนอื่นเฉลี่ยเพียง 3.3 ใบ โดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างเด็กแต่ละศาสนา นอกจากนี้ยังมีการให้เด็กดูหนังสั้น และให้คะแนนพฤติกรรมของตัวละครต่างๆ ว่าใครเป็นคน "เลว" แค่ไหน และควรถูกลงโทษอย่างไร ซึ่งปรากฏว่าเด็กจากครอบครัวเคร่งศาสนา มองว่าการทำร้ายร่างกายเป็นการกระทำที่เลวร้าย และควรต้องได้รับการลงโทษ มากกว่าเด็กที่ไม่มีศาสนา


ผลวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าศาสนาไม่จำเป็นต่อพัฒนาการด้านศีลธรรมของคน และการทำให้เรื่องของศีลธรรมเป็นเรื่องทางโลกมากกว่าศาสนา ก็ไม่ได้ทำให้มนุษย์ศีลธรรมเสื่อมทรามลง แต่กลับเป็นไปในทางตรงข้าม โดยผู้วิจัยให้เหตุผลว่าผู้ที่เชื่อว่าตนเองเคร่งศาสนา และทำตามหลักศาสนา จะเชื่อมั่นในตนเองสูงว่าเป็น "คนดี" ทำให้คิดว่าตนสามารถทำอะไรผิดหรือเกินขอบเขตศีลธรรมได้หากมีเหตุผลที่จำเป็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น