วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สุนัขอิจฉาได้จริงหรือ?


สุนัขมีความอิจฉาเมื่อเห็นเจ้าของเล่นกับสุนัขตัวอื่นจริงหรือ?


การศึกษาได้ยืนยันในสิ่งที่เจ้าของสุนัขมีความสงสัยอยู่เสมอๆว่า สุนัขจะมีความรู้สึกอิจฉาเมื่อเจ้าของของพวกมันใช้เวลาเล่นกับสุนัขอื่น  “การศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ Journal PLOS One ได้ท้าทายกับความคิดที่ว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตเดียวเท่านั้นที่มีความอิจฉา” 

นักวิจัยชาวอเมริกากล่าว  “คนส่วนมากสมมติว่า ความอิจฉาเป็นส่วนประกอบหนึ่งของสังคมมนุษย์ หรือมันเป็นอารมณ์หนึ่งๆที่มีความพิเศษและผูกติดกับความสัมพันธ์ทางด้านเพศและความโรแมนติก”

ผู้เขียนร่วม  Christine Harris จาก University of California, San Diego กล่าวไว้  “ผลของพวกเราแสดงให้เห็นว่า สัตว์ที่อยู่ใกล้กับตัวเราแสดงความกังวลอย่างมากเมื่อถูกศัตรูช่วงชิงความรักไป”

 นักวิจัยได้ทำการศึกษาสุนัขจำนวน 36 ตัวจากสายพันธ์ต่างๆ กัน ประกอบไปด้วย ดัชชุน ปอมเมอร์ริเนียน บอสตันเทอร์เรีย มัลตีส และ ปลั๊ก กว่าครึ่งของการศึกษานั้นเป็นพันธ์ผสม ในการที่จะประเมินลักษณะพฤติกรรมของสุนัข นักวิจัยได้ทำการประยุกต์การทดลองที่ใช้ในการทดสอบความอิจฉาของเด็กทารกอายุหกเดือนมาใช้ในการทดสอบ

สุนัขถูกอัดวิดีโอไว้ในขณะที่เจ้าของของพวกมันทำการเล่นกับสิ่งของที่แตกต่างกันสามชนิดต่อหน้าสุนัขของพวกเขา หนึ่งในวัตถุนั้นคือ สุนัขของเล่นที่เห่าได้และสั่นหางของมันได้ด้วยเมื่อทำการกดปุ่ม เจ้าของจะถูกบอกให้เล่นกับสุนัขของเล่นราวกับมันเป็นสุนัขจริงๆ เป็นเวลากว่าหนึ่งนาที พวกเขาถูกบอกให้ทำเหมือนกันกับการทดลองถัดไปโดยเล่นกับ ฟักทองของเล่นสำหรับวันฮาโลวีน (toy jack-o-lantern pail) โดยให้เล่นเหมือนกับมันเป็นสุนัขจริงๆ สุดท้ายพวกเขาถูกขอให้อ่านออกเสียงดังๆ กับหนังสือป๊อปอัพสามมิติของเด็กๆ ที่สามารถเล่นเพลงได้ ราวกับว่าพวกคุณกำลังเล่าเรื่องต่างๆ ให้เด็กเล็กๆ ฟังอยู่ 


นักวิจัยพบว่า พฤติกรรมของสุนัขดูเกินกว่าปกติมาก เมื่อเจ้าของนั้นเล่นกับสุนัขของเล่นเมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุอื่นๆ ตัวอย่างเช่น สุนัขจะมีการส่งเสียง ดันเจ้าของบ่อยขึ้น และเข้าผลักวัตถุหรือพยายามที่จะเข้ามาแทรกกลางระหว่างเจ้าของกับสุนัขของเล่นมากกว่าของเล่นชนิดอื่นๆ สุนัขประมาณสองเท่าที่มีแนวโน้มจะเข้ามาดันเจ้าของ (78 เปอร์เซ็นต์ของสุนัขทั้งหมด) 

เมื่อเขาหรือเธอทำการเล่นกับสุนัขของเล่นมากกว่าเมื่อพวกเขาเล่นกับ ฟักทองฮัลโลวีน (42 เปอร์เซ็นต์) มีเพียงแค่ 22 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่สนใจกับหนังสือ ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของสุนัขพยายามที่จะเข้ามาแทรกกลางระหว่างเจ้าของกับสุนัขของเล่น และ 25 เปอร์เซ็นต์จะมีการส่งเสียง 

นักวิจัยพูดว่า “การค้นพบนี้เป็นการสนับสนุนความเห็นที่ว่า ความอิจฉานั้นถูกพัฒนาได้จากสภาพแวดล้อม”  “การศึกษาของพวกเราแนะว่าไม่เพียงแต่สุนัขเท่านั้นที่ผูกพันกับพฤติกรรมการอิจฉา แต่พวกมันยังพยายามที่จะหาหนทางเพื่อที่จะขัดขวางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวเจ้าของกับสิ่งที่ดูคล้ายกับศัตรูอีกด้วย”

 Harris กล่าว  “พวกเราไม่สามารถพูดได้จริงๆ เกี่ยวกับประสบการณ์ของสุนัข แต่มันดูคล้ายกับว่า มันถูกกระตุ้นให้ปกป้องความสัมพันธ์ที่สำคัญของมัน” นักวิจัยหวังว่างานของเขาจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับการศึกษาต่อไปเกี่ยวกับอารมณ์ทางด้านสังคมของสัตว์

ที่มา: www.vcharkarn.com/vnews/449158

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น